ถามมา - ตอบไป


          ปัจจุบันยังคงมีความสับสนว่า แบบไหนคือเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมายและแบบไหนถูกกฎหมาย ยกตัวอย่างเช่น หมูป่าโดยทั่วไปไม่ใช่สัตว์ป่าคุ้มครองแต่หมูป่าที่พบในพื้นที่อนุรักษ์จะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย การล่าและกินเนื้อหมูป่าที่มาจากพื้นที่อนุรักษ์นั้นจึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ในทางกลับกันหากเรากินเนื้อหมูป่าที่มาจากฟาร์มที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายนั่นคือ เนื้อสัตว์ป่าถูกกฎหมายที่สามารถกินได้ ทั้งนี้การล่าและกินสัตว์ป่าคุ้มครองไม่ว่าจะล่ามาจากพื้นที่อนุรักษ์หรือไม่ ก็ถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย เช่น ไก่ป่าซึ่งถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองการล่าไก่ป่าในธรรมชาติ ไม่ว่าจะในพื้นที่อนุรักษ์หรือนอกพื้นที่อนุรักษ์ ก็จะมีความผิดทางกฎหมายเช่นกัน

          โดยปกติแล้ว เนื่องจากเราไม่สามารถรู้ได้ว่าเนื้อสัตว์ป่าจากร้านอาหารหรือตลาดที่อ้างว่า มาจากแหล่งถูกกฎหมายนั้นมาจากฟาร์มที่ได้รับการอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชจริงหรือไม่  พวกเราจึงควรหลีกเลี่ยงการซื้อเนื้อสัตว์ป่าที่มาจากแหล่งที่ไม่ได้รับการรับรองจากทางราชการ บางแห่งที่มีการลักลอบขายเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมายก็มีการนำเนื้อจากฟาร์มปศุสัตว์ทั่วไป เช่น หมูหรือไก่มาย้อมสีให้เข้มขึ้นและหลอกขายว่าเป็นเนื้อสัตว์ป่า

          เพื่อให้มั่นใจได้ว่า เนื้อสัตว์ป่าที่เราซื้อมานั้นถูกกฎหมายอย่างแน่นอน เราจะต้องรู้แหล่งที่มาของเนื้อนั้น ๆ อย่างแน่ชัด เช่น เนื้อสัตว์ป่าที่จำหน่ายจากฟาร์มสัตว์ป่าที่ได้รับอนุญาตโดยตรง

          เพื่อจะตอบคำถามนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเนื้อสัตว์ป่าแบบใดถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมาย  หลังจากนั้นจะต้องตรวจสอบแหล่งที่มาให้ชัดเจนว่า ได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานฯ อย่างถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฉลากสินค้าประเภทนี้ในปัจจุบันยังมีความไม่ชัดเจนและพบว่ายังมีการระบุชื่อประเภทเนื้อสัตว์คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง พวกเราจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ  ซึ่งถ้าหากตรวจสอบแหล่งที่มาของเนื้ออย่างแน่ชัดแล้วว่าได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานฯ แล้วไม่ว่าจะซื้อเนื้อจากที่ไหนก็ไม่ผิดกฎหมาย

          ในกรณีของซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วการจะนำสินค้ามาจัดจำหน่ายจะต้องผ่านขั้นตอนการคัดเลือกทั้งคุณภาพและที่มา ดังนั้น การซื้อเนื้อสัตว์ป่าจากซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำถือได้ว่า ไม่ผิดกฎหมาย

          การกินเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมายไม่ว่าจะเป็นกินเพราะอยากลอง หรือกินเป็นประจำถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง กฎหมายนั้นได้บัญญัติว่า การล่า การซื้อหา หรือการครอบครองนั้นมีความผิดทางอาญา เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะกินเพียงแค่หนึ่งครั้งหรือหลายครั้งก็มีความผิดทางกฎหมาย นอกจากนี้แล้วการกินเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมายยังเพิ่มความเสี่ยงด้านสุขภาพ ซึ่งรวมไปถึงโรคระบาดที่มาจากสัตว์

          เมื่อพบเห็นผู้กระทำผิด หรือสงสัยว่ากระทำความผิดเราสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทางสายด่วน 1362 หรือ  Facebook ที่ @NEDPolice และ @DNP.WILDHAWK

         สัตว์ป่าทุกชนิดพันธุ์ในบัญชีพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2562 หากมีการล่า การค้า การบริโภค การโฆษณา และการครอบครอง ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยหากเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ สัตว์ป่าสงวนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี ปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

      รายชื่อสัตว์ป่านั้นสามารถแบ่งได้เป็น 

  • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน  201 สายพันธุ์
  • สัตว์จำพวกนก จำนวน  952 สายพันธุ์
  • สัตว์จำพวกเลื้อยคลาน จำนวน  96 สายพันธุ์  
  • สัตว์จำพวกครึ่งบกครึ่งน้ำ จำนวน 12  สายพันธุ์
  • สัตว์จำพวกแมลง จำนวน  20 สายพันธุ์
  • สัตว์จำพวกปลา จำนวน 26 สายพันธุ์
  • สัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลัง จำนวน 12 สายพันธุ์

          โดยมีเพียง 59 ชนิดพันธุ์เท่านั้นที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่ขออนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

          จากสถิตินักวิทยาศาสตร์พบว่า โรคระบาดที่เกิดในมนุษย์ราวร้อยละ 60 มีต้นกำเนิดมาจากสัตว์ และประมาณร้อยละ 71 จากจำนวนดังกล่าวเป็นเชื้อโรคมีต้นกำเนิดจากสัตว์ป่า ในทุก ๆ ปีมีไวรัสเกิดใหม่ 2-4 ชนิด อันเป็นผลมาจากการรุกรานธรรมชาติในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการล่าและการขายสัตว์ป่าที่เป็นสาเหตุสำคัญของการระบาดของโรคร้ายแรงมากมาย อาทิ ซาร์ส (ติดจากค้างคาวผ่านชะมด) เอดส์  (ติดจากชิมแปนซี) เวสไนล์ (ติดจากยุงผ่านการค้านกในตะวันออกกลาง) มาจนถึงไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019-nCoV สาเหตุของโรคโควิด-19 (ยังไม่สามารถระบุต้นตอได้ แต่มีความคล้ายคลึงกับไวรัสที่พบในตัวลิ่นและค้างคาว) โดยสาเหตุการระบาดคือ การเข้าไปสัมผัสหรือคลุกคลีกับสัตว์ที่มีเชื้อโรคอยู่ ซึ่งบางครั้งเชื้อในสัตว์มีการกลายพันธุ์และถ่ายทอดมาสู่คน ซึ่งการกลายพันธุ์นี้ไม่สามารถบอกได้ว่าจะเกิดเมื่อใด นอกจากนี้ ปัจจัยใหญ่ที่เอื้อให้เกิดการกลายพันธุ์คือการนำสัตว์ป่าต่าง ๆ สายพันธุ์มาขังไว้รวมกันอย่างผิดธรรมชาติและไม่ถูกสุขลักษณะของขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่า บ่อยครั้งที่ขบวนการฯ เหล่านี้นำสัตว์ป่ามาขังไว้ใกล้กับสัตว์เลี้ยง ปศุสัตว์ หรือ แม้แต่คน ซึ่งเป็นการเอื้อให้มีการส่งผ่านเชื้อไปมาระหว่าง สัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง ปศุสัตว์ และคน จนเกิดการกลายพันธุ์ กลายเป็นโรคระบาดคร่าชีวิตมนุษย์มากมายในที่สุด [1] [2]

          เนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมายเป็นแหล่งที่เชื้อก่อโรค อาศัย เติบโต และเพิ่มจำนวน ซึ่งมักไม่ได้ถูกจัดการอย่างถูกสุขลักษณะ การนำเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมายมากินจึงเป็นความเสี่ยงต่อตัวเราเอง และอาจแพร่เชื้อยังบุคคลใกล้ชิดได้ [1]

          คุณสามารถหาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคติดต่อจากสัตว์ป่าได้ที่นี่ และยังสามารถหาข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมได้จาก https://www.traffic.org/ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวกับการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน

          การกินเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมายนั้น คือการสนับสนุนการล่าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมายโดยตรง เพราะเมื่อมีผู้กินก็จะมีผู้ล่า ล่ามาเพื่อขาย และการล่าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมายนี้เป็นหนึ่งในต้นเหตุหลักที่ทำให้จำนวนสัตว์ป่าที่สำคัญต่อระบบนิเวศในป่าน้อยลงเรื่อย ๆ จนบางสายพันธุ์ได้สูญพันธุ์ไปแล้วในประเทศไทย เช่น สมั่น แรด กระซู่ กูปรี และอีกมากมายหลายสายพันธุ์ที่จัดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์

          สัตว์ที่มักถูกล่าเพื่อเอามากินอย่างผิดกฎหมาย เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นกและสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดใช้เวลานานกว่าจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ออกลูกหรือวางไข่ได้คราวละไม่มาก เป็นกลุ่มสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้ช้าตามธรรมชาติ จึงไม่สามารถทดแทนประชากรได้ทันเมื่อถูกนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

          สัตว์ป่าหลายชนิดมีวัฏจักรเป็นของตัวเอง ต้องอาศัยฤดูกาลและอาศัยระบบนิเวศที่เหมาะสมในการขยายพันธุ์ สัตว์ป่าหลายชนิดมนุษย์ยังไม่สามารถเพาะพันธุ์ได้ การล่าสัตว์ป่าจากธรรมชาติถือเป็นการตัดวัฏจักรของสัตว์เหล่านั้น โอกาสที่สัตว์ป่าจะขยายพันธุ์ก็หมดไป  และจะทำให้สัตว์ป่าชนิดนั้นสูญพันธุ์

          ในทางกลับกัน การจำกัดการล่าสัตว์ป่าที่มีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งที่ยั่งยืน หมายความว่า สัตว์ป่าจะไม่ถูกล่าและลดจำนวนลงจนส่งผลกระทบด้านลบต่อจำนวนของสัตว์ป่าในองค์รวม ซึ่งนั่นก็จะหมายถึงการไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเช่นกัน

         คำจำกัดความของเนื้อสัตว์ป่าของแคมเปญนี้คือ สัตว์ใดก็ตามที่ไม่ได้ มาจากการเลี้ยงภายในครัวเรือน การทำปศุสัตว์ ไม่ใช่แมลง และไม่ใช่สัตว์น้ำ โดยตัวอย่างคร่าว ๆ ของสัตว์ป่าก็คือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นกต่าง ๆ และสัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่ในป่า ตามคำจำกัดความนี้ เนื้อหมูป่าจากฟาร์มที่ได้รับอนุญาตถือได้ว่าเป็นเนื้อสัตว์ป่าที่ถูกกฎหมาย ในขณะที่เนื้อหมูป่าที่มาจากการลักลอบล่าถือเป็นเนื้อสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย

          ตามปกติแล้วเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ จะมีคุณค่าทางโภชนาต่างกันอยู่แล้ว เช่น เมื่อเทียบกับเนื้อหมูกับเนื้อปลา โดยเนื้อหมูนั้นจะมีไขมันมากกว่า ในขณะที่เนื้อปลามีโปรตีนมากกว่า เนื้อสัตว์ป่าก็เช่นกัน ที่ต่างชนิดกันก็จะมีคุณค่าทางโภชนาการที่ต่างกัน มีรายงานทางวิชาการมากมายที่พยายามวิเคราะห์ความแตกต่างทางโภชนาการที่ต่างกันระหว่างเนื้อจากปศุสัตว์และเนื้อจากสัตว์ป่า ซึ่งผลแสดงให้เห็นว่าเนื้อปศุสัตว์นั้นสามารถเป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายมนุษย์ได้เช่นกัน [1]

          จริง ๆ แล้วเราสามารถใช้เนื้อสัตว์ที่มาจากฟาร์มปศุสัตว์ทั่วไปแทนที่เนื้อสัตว์ป่าได้ เช่น สามารถใช้เนื้อเป็ดหรือนกกระทาแทนเนื้อเป็ดก่า หรือเนื้อเป็ดหงส์  หรือการใช้เนื้อวัว เนื้อแพะ และเนื้อแกะ แทนเนื้อกวางป่า หรือใช้เนื้อไก่ และไก่งวงแทนเนื้อไก่ป่า

          แคมเปญ KIND DINING กิน.กอด.โลก ถือได้ว่า เป็นแคมเปญแรกในประเทศไทยที่รณรงค์เพื่อลดความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมายหลังเกิดวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบกับชีวิตและเศรษฐกิจของคนทั้งโลก การกินเนื้อสัตว์ป่ายังเป็นหนึ่งในต้นเหตุของการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย แคมเปญนี้มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างค่านิยมใหม่ที่ไม่กินเนื้อสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งจะผลักดันให้เรื่องนี้เป็นวาระที่ภาคีต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญได้ในอนาคต

          จากรายงานการวิจัยผู้บริโภคเนื้อสัตว์ป่าในประเทศไทยที่จัดทำขึ้นโดย TRAFFIC ZSL และ GlobeScan ระบุว่า กลุ่มคนไทยที่กินเนื้อสัตว์ป่ามากที่สุดคือผู้มีอายุ 18-30 ปี มีรายได้สูง (มากกว่า 50,000 บาทต่อเดือน) และชอบท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศเป็นประจำ (มากกว่า 2 ครั้งต่อปี ก่อนโควิด-19 ระบาด)

          แคมเปญรณรงค์ KIND DINING กิน.กอด.โลก เกิดขึ้นจากการร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ จากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานราชการ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งพันธมิตรที่ร่วมมือกันสร้างแคมเปญนี้ได้แก่

  • กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  • กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility) 
  • Global Wildlife Program (GWP) 
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  • เครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า (TRAFFIC)
  • องคก์รสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) 
  • โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme) 

แผนภาพเส้นทางสำหรับการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากสัตว์สู่มนุษย์ โดยอธิบายใน 3 สถานการณ์ที่แตกต่างกัน

     

1)  กล่องสีแดง: โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนโดยมีการส่งผ่านเชื้อโรคจากสัตว์ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม (เช่น การติดเชื้อจากอาหาร หรือการมีพาหะนำโรค เป็นต้น)

2) กล่องสีน้ำเงิน: โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่มีสาเหตุจากการส่งผ่านเชื้อโรคจากสัตว์สู่คนซึ่งก่อให้เกิดการแพร่กระจายจากคนสู่คน ต้นกำเนิดของเชื้อโรคอาจมาจากสัตว์ป่า แต่เชื้อโรคเหล่าได้มีการวิวัฒนาการที่ซับซ้อนจึงไม่ต้องอาศัยสัตว์เพื่อเป็นแหล่งส่งผ่านเชื้อโรค และมักจะสามารถวิวัฒนาการต่อไปโดยไม่ต้องอาศัยสัตว์อีกเลย

3) กล่องสีเหลือง:  การส่งผ่านเชื้อจากคนสู่สัตว์ ซึ่งสัตว์ที่ติดเชื้ออาจจะ หรืออาจจะไม่ส่งต่อเชื้อให้แก่เพื่อนร่วมสายพันธุ์ก็ได้

4) ลูกศรสีน้ำเงินอันใหญ่แสดงให้เห็นถึงกรณีของสัตว์ที่ได้รับการส่งผ่านเชื้อ SARS-CoV-2 จากคน และการส่งผ่านเชื้อ SARS-CoV-2 จากสัตว์กลับสู่คนอีกรอบซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฟาร์มเพียงพอนในยุโรป

การ “หกล้นใส่” (Spill-over) ของเชื้อโรคจากสัตว์สู่คนและเชื้ออุบัติใหม่นั้นแทนด้วยขนาดของวงกลม ความถี่ในการติดเชื้อของการหกล้นจากสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าจะคำนวณเป็นร้อยละ โดยจากงานศึกษาของ Bar-On et al., 2018 พบว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วโลก มีเพียงร้อยละ 4 เท่านั้นที่เป็นสัตว์ป่า ในจำนวนนั้นมากกว่าร้อยละ 50 คือสัตว์น้ำ นอกจากนี้ ปศุสัตว์คิดเป็นร้อยละ 60 และมนุษย์คิดเป็นร้อยละ 36  ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด จากสถิติ นักวิทยาศาสตร์พบว่า โรคระบาดที่เกิดในมนุษย์ราวร้อยละ 60 มีต้นกำเนิดมาจากสัตว์ และประมาณร้อยละ 71 จากจำนวนนั้นพบว่า เชื้อโรคมีต้นกำเนิดจากสัตว์ป่า (KE Jones et al., 2008)

ประมาณการอัตราการส่งผ่านเชื้อจากปศุสัตว์ และจากสัตว์ป่าสู่คน โดยอ้างอิงจากการศึกษาต่าง ๆ มีดังนี้

โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนทำให้คนเจ็บป่วยประมาณ  2.5 พันล้านราย โดยในจำนวนนั้น 2.4 พันล้านรายเกิดจากโรค 13 ชนิด ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกษตร (Grace, Mutua, et al., 2012)  โดยจำนวนโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนนั้นมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกจากนี้ การวิเคราะห์ชนิดพันธุ์สัตว์ที่มีเชื้อโรคชนิดเดียวกับคนในร่างกาย พบว่า 8 อันดับแรกเป็นปศุสัตว์ ดังนั้น จึงมีการประมาณการว่า กว่าร้อยละ 99 ของเชื้อโรคจากสัตว์สู่คนนั้นมาจากปศุสัตว์ ที่เกิดจากการส่งผ่านโดยตรง หรือทางอ้อม แต่ในกรณีของพาหะนำโรคนั้นยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด [1]